วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

มนุษย์ยุคหิน

มนุษย์ยุคหินในประเทศไทย


มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้หินเป็นเครื่องมือในการล่าสัตว์เพื่อดำรงชีพหรือมนุษย์สมัยหิน (Pre-history) แบ่งออกได้เป็น 3 สมัยโดยใช้ลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเป็นหลักดังนี้คือ
1. สมัยหินเก่า (Paleolithic Age or Old Stone Age) อายุประมาณ 500,000-250,000 ปีก่อนคริสต์กาล มนุษย์ยุคนี้ใช้ก้อนหินกรวด ตามธรรมชาติมากะเทาะให้มีแง่คมอย่างหยาบๆ ไม่รู้จักขัดให้เรียบเรียกว่าพวก ฟิงโนเอียน สำหรับใช้เป็นเครื่องสับตัดและเครื่องขุดขนาดใหญ่ ประเภทหนึ่ง อีกประเภทหนึ่งใช้เป็นขวานกำปั้น หรือ มักทำจากหินไดอะเบส, หินชนวน, หินเชิต, หินขวอทไซท์ หินโรโอไลท์ หินปูน กะเทาะอย่างหยาบๆโดยปลายข้างหนึ่งมนปลายข้างหนึ่งแหลมเรียกว่า ไซแอมเมียน พบที่บ้านเก่า อ.เมือง จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีการค้นพบหลักฐานของเครื่องมือหินในยุคนี้แต่ไม่ปรากฏว่าพบหลักฐานทางกระดูกของมนุษย์สมัยหินยุคนี้ในประเทศไทยเลย
2. สมัยหินกลาง (Mesolithic Age or Middle Stone Age) อายุประมาณ 45,000-3,500 ปีก่อนคริสต์กาล ใช้เครื่องมือหินกะเทาะมาทำเครื่องมือหินขนาดจิ๋ว บางและเล็กมาก ยาวที่สุดประมาณ 1.50 นิ้ว เรียก Microliths หรือ pigmy-Tools พบที่วังโพธิ์ อ.ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ได้ค้นพบเครื่องมือหินในยุคหินกลางนี้มากที่ดินแดนแควน้อย พร้อมกับโครงกระดูกของมนุษย์ที่ถ้ำตำบลไทรโยค จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเคยมีมนุษย์ในยุคหินกลางนี้อาศัยอยู่เป็นเวลากว่า 20,000 ปีมาแล้ว แต่ในบางตำราได้จัดให้มนุษย์หินยุคนี้เป็น “ยุคหินเก่าตอนปลาย” เพราะได้มีการค้นพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินในแถบตังเกี๋ยที่เมืองหัวบินห์และกวางบินห์ในประเทศเวียดนาม มีอายุประมาณหนึ่งหมื่นปีเศษๆ โดยเครื่องมือหินที่พบจะมีลักษณะที่ทำอย่างหยาบๆ แลดูคล้ายมีดหินที่มีลักษณะทำเรียบเพียงด้านเดียว มนุษย์หินยุคนี้ยังไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ และยังอาศัยกันอยู่ในถ้ำ เชื่อว่าพวกนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของพวกที่มีเชื้อสายออสตราลอยด์ เมลานีลอยด์และมองโกลอยด์ในเวลาต่อมา
3. สมัยหินใหม่ (Neolithic Age or New Stone Age) อายุประมาณ 4,500-3,500 ปีก่อนคริสต์กาล มนุษย์ยุคหินใหม่นี้ใช้เครื่องมือหินที่มีรูปร่างเหมือนขวาน มาขัดให้เรียบเรียกทั่วไปว่า "ขวานฟ้า" หรือ เซโรเนีย เป็นขวานหินขัด ทำแบบต่างๆมีทั้งชนิดแบบธรรมดา มีบ่า เป็นจงอยปากนก แบบคมกลม เป็นค้อนหิน ใบหอกหิน จักร กำไลหิน หัวกระบอง ลิ่ม หินบด พบอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพบที่ หมู่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรีนั้น พบเครื่องมือหินพร้อมกับโครงกระดูกของมนุษย์สมัยหินใหม่นี้เป็นจำนวนมาก เฉพาะที่ขุดสำรวจมีกว่า 50 โครง ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่ามีมนุษย์สมัยหินใหม่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว เราเรียกมนุษย์หินยุคนี้ว่า “ยุควัฒนธรรมบักโซเนียน” เนื่องมาจากชื่อแหล่งที่ค้นพบมนุษย์ยุคนี้เป็นครั้งแรกที่มาจากภูเขาหินบักซอนในตังเกี๋ย
จากการสำรวจพบมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยต่างๆดังกล่าวนี้ ได้พบเครื่องมือหินหลายชนิด ที่บ่งชี้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่รู้จักการใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเป็นมนุษย์ยุคหินที่ใช้ถ้ำตามภุเขาเป็นสุสานสำหรับฝังศพ และยังได้ค้นพบร่องรอยของความเจริญในทางหัตถกรรมสูงมากแล้วด้วย นั่นคือสามารถที่จะเจาะแผ่นหินเป็นรูใหญ่โดยใช้หินกากเพชรและปล้องไม้ไผ่ ทำเลื่อยวงเดือนด้วยหินสำหรับตัดแท่งหินที่กลึงกลมแล้ว สามารถทำเป็นลูกปัดชิ้นเล็กๆใช้เป็นเครื่องประดับ และสามารถใช้หินทำเป็นลูกรอก สำหรับกลึง ทำกำไลหินรูปต่างๆ มีเครื่องปั้นดินเผาหลายแบบหลายชนิดที่ถูกค้นพบ พร้อมทั้งทำแท่งหินที่เคลื่อนหมุนได้อีกด้วยวัฒนธรรมการใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นี้ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่มีอายุเก่าแก่ย้อนไปถึง 20,000-4,000 ปีมาแล้ว อย่างเช่นวัฒนธรรมบ้านเชียงที่แอ่งสกลนคร จังหวัดอุดรธานีนั้น ถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของการปลูกข้าวเมื่อ 5,600 ปีมาแล้ว ครั้นเวลาล่วงเลยไป